ECONOMICS : รชค. มอบนโยบาย กทท. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาสู่ท่าเรือสีเขียว
17 ต.ค. 2566 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง […]
17 ต.ค. 2566 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (รชค.) เป็นประธานประชุมมอบนโยบาย พร้อมตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน และเปิดสถาบันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พร้อมด้วยนายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ รชค. และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม โดยมีนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. คณะผู้บริหาร พนักงาน กทท. และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กทท. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารที่ทำการ กทท. ดูเนื้อหาบน Line Today
รชค.มนพร กล่าวว่า “กทท. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าโลก ดังนั้นการมอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจของ กทท. จะต้องมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มุ่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านคมนาคมขนส่งและบูรณาการเชื่อมต่อการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ การบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเพิ่มรายได้แก่องค์กร การนำเทคโนโลยีพร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการ รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยขอมอบนโยบายฯ ดังนี้
เมื่อการคมนาคมขนส่งเจริญ ชีวิตคนไทยก็เจริญตามไปด้วยเช่นกัน
- ผลักดันโครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เพื่อลดผลกระทบปัญหาจราจรระหว่างท่าเรือกรุงเทพกับการจราจรบนท้องถนนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์โครงการ “ราชรถยิ้ม” เพื่อสร้างรอยยิ้มให้กับภาคการคมนาคมขนส่ง
- ส่งเสริมต่อยอดระบบโลจิสติกส์ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการบูรณาการเชื่อมต่อระบบการคมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ในเขตเมือง เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เกิดสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Transport) โดยบูรณาการระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เชื่อมต่อทางบก ทางราง และทางน้ำ อย่างไร้รอยต่อให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
- การพัฒนาระบบท่าเรืออัตโนมัติ (Port Automation) โดยนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมของท่าเรือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการ รวมทั้งนำระบบอัตโนมัติ (Automated Operation) ที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ในการให้บริการเพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Port
- มุ่งสู่การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานสะอาด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการพัฒนาสู่การเป็นท่าเรือสีเขียวร่วมกับห่วงโซ่อุปทาน (Green Port Supply Chain) ส่งเสริมการเป็นท่าเรือที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Port) รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด อาทิ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
- เร่งรัดเพิ่มขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของท่าเรือ ประกอบด้วย การเร่งรัดผลักดันการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, การบริหารสัญญา PPP เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด, การพัฒนาท่าเรือให้เป็นท่าเรืออัตโนมัติ (Port Automation), บริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า, เร่งรัดพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ของการท่าเรือฯให้เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์
- ส่งเสริมการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Assets Management) โดยเร่งหารายได้จากการบริหารทรัพย์สินให้มากขึ้น อาทิเช่น การนำที่ดินที่มีศักยภาพมาประมูล/ให้เช่าเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาชุมชน ฯลฯ
นอกจากนี้ รชค.มนพร ยังกำชับให้ กทท. ดำเนินงานตามกรอบนโยบายรัฐบาลและกรอบนโยบายของ คค. ซึ่งจะต้องครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ มิติทางเศรษฐกิจ มิติด้านความปลอดภัย มิติด้านการให้บริการ และมิติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนและเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก พร้อมบูรณาการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของ กทท. ดูเนื้อหาบน Line Today
เข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเรา
Website : o2oforum
Facebook : o2oforum
Community : o2oforum
Line : @o2oforum
Subscribe : o2oforum
Tel : 0970344225, 0970347554, 0970343220, 0952156145