PEOPLE : ดันเมืองรองเป็นเมืองแห่งกฎบัตรไทย ผ่านแผนพัฒนาโครงสร้าง Smart City Charter
สำนักงานกฎบัตรไทย (National Charter) เป็นหนึ่งในกลไกการ […]
สำนักงานกฎบัตรไทย (National Charter) เป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาผังเมืองอย่างยั่งยืนและชาญฉลาดรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562-2565) โดยผ่านสมาคมการผังเมืองไทยที่ก่อตั้งโดย คุณฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย ซึ่งได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือนี้เข้าสู่กลไกการพัฒนาเมือง โดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ ระยอง อุดรธานี ภูเก็ต และนครสวรรค์
ซึ่งได้มีข้อตกลงและประชุมลงนามระหว่าง สมาคมการผังเมืองไทย ,สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย, บริษัทยูไนเต็ด เทคโนโลยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (UTE) และเทศบาลเมืองรองทั้ง 13 จังหวัด ที่ต้องการสร้างแนวทางการพัฒนาร่วมกัน รวมถึงการวางแผนปฏิบัติการวิจัยพัฒนาเมือง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม Smart City Charter
โดยมีเป้าหมายหลักคือ ต้องมีการสนับสนุนการตกลงร่วมกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาเทศบาล เป็นพื้นที่นำร่องพัฒนาเป็นย่านอัจฉริยะ ร่วมกันวางแผนและออกแบบแนวคิดด้านการพัฒนาด้านกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค รวมไปถึงการส่งเสริมย่านอัจฉริยะเพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และสุดท้ายคือสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อการวิจัยและนำไปปฏิบัติใช้ให้สำเร็จลุล่วงในอนาคต
“กฏบัตรไทยจะเป็นองค์กรที่สร้างความเจริญให้เมืองรอง กลายเป็นเมืองนานาชาติ” คุณฐาปนากล่าว
คุณฐาปนา บุณยประวิตร กล่าวถึงการพัฒนาย่านอัจฉริยะให้เป็นพื้นที่ต้นแบบว่า กฎบัตรเมืองอัจฉริยะคาดหวังในการใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการปรับปรุงระบบกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และสาธารณูปโภคของเทศบาล โดยข้อตกลงร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรประชาชน จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมทั้งการฟื้นฟูชุมชนให้มีศักยภาพในการรองรับความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การเป็นเมืองที่ยั่งยืน
รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุกต์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ได้ประกาศนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษสามภาค ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพุน เชียงราย) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) และระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร) เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ได้ประกาศเมื่อ 6 ปีที่แล้ว
โดยพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่ได้รับการประกาศเกือบทั้งหมดเป็นจังหวัดหัวเมืองหลักระดับภาคซึ่งมีความพร้อมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคและเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคอยู่แล้ว จึงมีผู้ตั้งคำถามเป็นจำนวนมากว่าสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ช่องว่างระหว่างหัวเมืองเหล่านี้กับจังหวัดขนาดเล็กยิ่งขยายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
ในฐานะที่อดีตเคยเป็นคณะทำงานยกร่างแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความเสมอภาคทางสังคม จึงได้ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยจำนวน 12 แห่งพร้อมด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และองค์กรภาคเอกชนวางแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจใหม่ เพื่อสร้างหนทางส่งความเจริญไปยังเมืองรอง ให้ลุกขึ้นมาทัดเทียมกลายเป็นเมืองนานาชาติให้ได้
ขับเคลื่อนภารกิจครั้งนี้ในฐานะกฏบัตรไทย
ติดตามเรา
Website : o2oforum
Facebook : o2oforum
Line : @o2oforum
Subscribe : o2oforum
Tel : 0970344225, 0970347554, 0970343220, 0952156145